วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความรักในครอบครัว


ความรักในครอบครัว
ไม่ได้ตั้งใจจะมาเขียนอะไรที่ซึ้งกินใจเกี่ยวกับ “ความรัก” แบบสวีท จี๋จ๋า แบบทั่ว ๆ ไป ความจริงแล้วตัวเองก็รู้จักความรักแบบ รักกันแบบแฟน, รักเพื่อน, รักแบบสามี-ภรรยา, รักญาติ,ไม่พูดถึงแบบ รักพี่ รักน้อง (เพราะเป็นลูกคนเดียว) และรักแบบสุดท้ายที่รู้จักคือ “รักพ่อ แม่” มีคนบอกว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เรามีลูก เราจะรู้สึกว่ารักพ่อ แม่มากขึ้น จะเข้าใจว่าพ่อ แม่รักเรามากขนาดไหน ก่อนหน้านี้คุณยายไม่สบายเพราะมีอาการเป็นลมบ่อย แล้วก็จะเจ็บหน้าอกตอนที่จะเป็นลม น้าสาวเลยพาไปตรวจที่โรงพยาบาลผลปรากฎว่า…เส้นเลือดที่หัวใจตีบ เส้นเลือดสี่เส้นตีบไปแล้วสองเส้น อีกเส้นใช้การได้แค่ประมาณ 10% เหลือดี ๆ อยู่แค่เส้นเดือน มีอาการเป็นลมบ่อยมากก่อนที่จะมาตรวจ เล่าอาการให้หมอฟัง หมอบอกวา…ทำไมอึดรอดมาได้ขนาดนี้ หมอให้พักอยู่ใน รพ. ประมาณสองอาทิตย์กว่า โดยก่อนหน้านี้ก็ทำการฉีดสีเข้าไป ตอนที่จะฉีดสีเค้าก็บอกว่ามีความเสี่ยง 1 ใน 100 ที่อาจมีอาการแพ้ได้ แต่คุณยายก็โชคดีที่ไม่เป็น 1 ในคนโชคร้าย จนเมื่อวันพุธเช้าก็ได้เข้าห้องผ่าตัด โดยใช้เวลาอยู่ในห้องผ่าตัดประมาณห้าชั่วโมง น้าสาวสี่คน และน้าชายอีกหนึ่งคนมาเฝ้ารอแม่ตัวเองออกจากห้องผ่าตัด ส่วนแหม่มไปถึงเมื่อคุณยายผ่าตัดออกมาเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้สึกตัว พอน้าชายรู้ว่าคุณยายออกมาจากห้องผ่าตัดโดยปลอดภัยก็ขับรถกลับประจวบฯไป ตอนกลางคืนรับน้าสาวสองคนมาค้างกับมามี๊ที่บ้าน แม่ทำตาแดง ๆ ชั้นก็แซวว่า “แม่เป็นไรอะ” เท่านั้นแหละ คุณนายร้องไห้โฮ ๆ เหมือนเด็ก ๆ แล้วบอกว่า “คิดถึงยาย อยากไปหายาย” แต่ก็ไม่ได้ปลอยอะไรเค้าแค่แซวว่า “กิ๊ว ๆ ร้องไห้เป็นเด็กเลยนะแม่” เข้าใจว่าแม่คงอัดอั้นตันใจที่ไปเยี่ยมคุณยายไม่ได้เพราะแม่ไม่ค่อยสบายอยู่เหมือนกัน ป๋า น้าสาว จนกระทั่งแหม่มไม่ยอมให้เค้าไปโรงพยาบาล เมื่อวานนี้ก็อีกหนึ่งวันเต็ม ๆ ที่เค้าอยากไปโรงพยาบาลแต่ก็ไม่มีใครยอมให้ไป เค้าบอกว่า…วันทั้งวันเค้าก็เดินวนไปวนมาอยู่ในบ้าน คิด ๆ ขึ้นมาก็ร้องไห้ ความจริงนอกจากที่ไม่อยากให้แม่ไปเยี่ยมก็เพราะเมื่อวานคุณยายยังอาการไม่ดี น้าสาวสามคนที่รู้เรื่องจากที่คุณหมอบอกอาการก็ร้องไห้กันไปหลายรอบ เพราะผลการผ่าตัดออกมาไม่ดีนักก่อนผ่าตัดหมอไม่ได้บอกถึงความเสี่ยงจากการผ่าตัดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เนื่องจากไม่มีเวลา รู้แค่เพียงว่าอาการแบบนี้ถ้าไม่ผ่าตัดก็มีแต่โอกาสสูญเสีย เมื่อวานที่ไปเยี่ยมคุณยายก็ยังไม่รู้สึกตัว แต่ก็มีการขยับขาไปมา แล้วก็ทำปากเคี้ยวท่อที่สอดเข้าไปในปาก แต่เวลาลืมตามาก็ไม่หันมาตามเสียงเรียก เหมือนกับว่ายังไม่รู้สึกตัว หมอสแกนสมองแล้วบอกว่า มีจุดสีคล้ำ ๆ ที่ปลายสมอง เพราะแคลเซียมที่เกาะอยู่หลุดเข้าไปในกระแสเลือด อาการแบบนี้หมอบอกว่าเกิดขึ้น3-5 คน ในจำนวน 100 ผลที่ได้รับแบบแย่ที่สุดคือไม่รู้สึกตัวไปแบบนี้ซักพักแล้วก็เสียชีวิต หรืออาจเป็นอัมพฤกต์ แถมตอนที่ทำบายพาสหัวใจก็พบว่า “ลื้นหัวใจรั่ว” แต่หมอทำการผ่าตัดให้ไม่ได้เพราะใช้เวลาในการทำบายพาสไปมากถึง 5 ชั่วโมงแล้ว กลัวว่าคนไข้จะรับไม่ได้
เห็นใจน้าสาวสองคนมาก ที่ต้องขึ้นมาจากต่างจังหวัดตื่นเช้ามาก็มาโรงพยาบาลเฝ้าอยู่ด้านนอกห้องได้เดินเข้าไปดูคุณยายเป็นระยะ ๆ เพราะทางโรงพยาบาลให้เค้าเยี่ยมได้แค่ครั้งละสองคนไม่เกินครั้งละสิบนาที วันทั้งวันก็ทำอยู่แต่แบบนี้ เพราะน้าสาวบอกว่า “อยากให้คุณยายได้เห็นหน้าลูกเวลาลืมตาตื่นขึ้นมา เผื่อคุณยายรู้สึกเจ็บพอเห็นหน้าลูกจะได้รู้สึกว่ายังมีคนอยู่ดูแล” กระทั่งเมื่อวานฟังผลจากคุณหมอเค้าก็เสียใจร้องไห้กัน แต่พอกลับมาเจอมามี๊แหม่มเค้าก็ต้องเก็บอาการ ปั้นหน้าตาให้สดชื่น เพราะไม่อยากให้มามี๊แหม่มฟังแล้วไม่สบายใจ น้าสาวบอกว่า “แค่แม่ตัวเองป่วยก็เครียดจะแย่แล้ว ถ้าพี่สาวตัวเองต้องมาป่วยหนักอีกเค้าก็คงรับไม่ไหวเหมือนกัน” จริง ๆ โดยปกติก็รู้อยู่แล้วว่าครอบครัวทางแม่รักกันมากแต่มาครั้งนี้ทำให้มองเห็นความรักที่เค้ามีให้กันแบบซาบซึ้งแบบนี้ ทำให้ชั้นรู้สึกรักแม่ และญาติพี่น้องขึ้นอีกเยอะ
ปล. วันนี้ตกลงกันว่าจะยอมให้มามี๊ไปเยี่ยมคุณยายแต่บอกเค้าไว้ว่าให้แค่ไปดูแล้วรีบกลับ แต่สุดท้ายมามี๊ก็ไม่สบายมากจนอดไปเยี่ยมคุณยาย โทรไปเช็คอาการจากน้าสาวก็ได้ฟังข่าวดีว่า…คุณยายอาการดีขึ้น วันนี้พยักหน้าได้ หวังว่าคุณยายจะโชคดีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ

บ้านประหยัดพลังงาน







ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาคนไทย กลายเป็น "มนุษย์ห้องแอร์"ไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถจะทนรับมือกับอุณหภูมิกว่า 40 องศา เซลเซียส...ภายนอกได้ ยังไม่หายสะบักสะบอมจากสภาพอากาศที่ "กระหน่ำซัมเมอร์เซล" อย่างหนัก ก็ต้องมาเจอมรสุม น้ำมันขึ้นราคาอีกระลอก ทำให้อดนึกถึงราคาสินค้าต่างๆจะต้องพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย รวมไปถึงค่าไฟฟ้าซึ่งตลอดเวลานั้นราคาจะอิงอยู่กับราคาน้ำมัน... นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาสุขภาพของเราที่วัดได้จากปริมาณคนไข้ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลแบกรับภาระกันไม่หวาดไหว ทั้งเจ็บป่วยทางกายและทางใจ อะไรเกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยในวันนี้ และ อะไรจะเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต ? คำตอบที่เราได้มาก็คือ...สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนไทยหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ เกิดจากสาเหตุใหญ่...นั่นคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกทำลายลงไปทุกวัน และหากวันนี้เรายังไม่คิดพลิกฟื้นให้คืนกลับมาดังเดิม ก็เท่ากับเราทำลายความสุขและอนาคตของลูกหลานเราอย่างไม่รู้ตัวเช่นกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราจะต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะเลวร้ายลงไปกว่านี้ คือการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และพยายามคิดค้นหาพลังงานทดแทนที่นอกจากไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงไปกว่านี้อีกแล้ว ยังช่วยจรรโลงชีวิตมนุษย์โลกให้มีความสุขขึ้นด้วย การแก้ปัญหาที่ว่านี้...เริ่มทำได้จาก "บ้าน" ของเราเอง ศ.คร. สุนทร บุญญาธิการ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการที่มีแนวความคิดข้างต้นนี้ ได้เริ่มทำแล้วเมื่อสิบปีก่อน บ้านประหยัดพลังงานสูงสุด ที่ทั้งดูสวยงาม และเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยของเขา ในหมู่บ้านเมืองเอก เป็นวิมานน้อยๆของครอบครัวที่สมาชิกสามารถเก็บเกี่ยวความสุขได้อย่างน่าทึ่ง ปัจจุบันอาจารย์สุนทรต่อยอดองค์ความรู้ของบ้านประหยัดพลังงานสูงสุดไปสู่ บ้านพลังงานแสงอาทิตย์สมบูรณ์แบบ บ้านที่จะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สสำหรับหุงต้ม ไม่เพียงแต่ประหยัดพลังงาน และ ช่วยเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมเท่านั้น "บ้าน" ที่ ดร.สุนทร ศึกษาและคิดค้นออกแบบสร้างขึ้นมานั้น ยังให้คุณภาพชีวิตกับทุกคนที่อยู่อาศัย...เป็นบ้านเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง เมื่อเราก้าวเข้าไปในบ้านพลังงานแสงอาทิตย์สมบูรณ์แบบ...บ้านหลังที่สองของดร.สุนทร ที่มีชื่อเรียกอย่างไพเราะว่า บ้านชีวาทิตย์ ในหมู่บ้านสาริน ที่คลอง 5 อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ...

จัดสวนภายในบ้านเพื่อการผ่อนคลายความเครียด

จัดสวนภายในบ้านเพื่อการผ่อนคลายความเครียด
เริ่มจากการออกแบบและจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านให้เหมาะสม ไม่กีดขวางทางสัญจรและกิจกรรมต่าง ๆ หรือก่อให้เกิดอันตราย กับสมาชิกในบ้าน และมีความเหมาะสมที่จะจัดสวนออกมาได้อย่างสวยงาม ในบริเวณส่วนต่อเนื่องกับพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ในบ้าน อาทิ เช่น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งบริเวณเพื่อการพักผ่อนในช่วงแดดร่มลมตกอย่างบริเวณระเบียงบ้าน ดังนั้นพรรณไม้หรือรูปแบบการจัดสวน ก็ควรให้เหมาะสมและเข้ากับพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วนของบ้านด้วย สวนสวยในบ้านนอกจากช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีแล้ว วิธีการตกแต่งตลอดจนลักษณะหรือรูปแบบของพรรณไม้แต่ละชนิดยังสามารถช่วยแก้ไขจุดบกพร่องภายในบ้านได้ด้วย เช่น บริเวณบ้านที่จืดชืด ไม่ค่อยมีสีสัน แต่เจ้าของบ้านไม่ต้องการแต่งแต้ม เติมสี หรือออกแบบตกแต่งภายในใหม่ ก็เลือกเป็นพรรณไม้ที่มีสีสันหรือรูปทรงที่โดดเด่นเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้บริเวณนั้นดูสดในขึ้นมาได้ครับ ซึ่งพรรณไม้ที่นิยมนำมาจัดสวนในบ้านโดยทั่วไปนั้น จะเป็นประเภทที่ชอบอยู่ในร่มแดดรำไร มีความต้องการแสงน้อย และมีใบหรือดอกที่สวยงาม เช่น พรรณไม้ตระกูลปาล์มขนาดเล็กบางประเภท คล้า บอนสี เฟิน เขียวพันปี เขียวหมื่นปี วาสนา สาวน้อยประแป้ง หน้าวัวใบ ฟิโลเดนดรอน สังกรณี พุดกุหลาบ โมก จั๋ง ไทร หมากผู้หมากเมีย สับประรดสี เป็ปเปอร์โรเมีย ไผ่ฟิลิปปินส์ และ หางกระรอก ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น มีให้เลือกกันมากมายนอกจากนั้นสีสันและลวดลายจากกระถางหรือเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้ในการปลูกก็ช่วยแก้ไขจุดบกพร่องและสร้างความสดใสภายในบ้านได้เช่นกัน เพราะในปัจจุบันวัสดุเหล่านี้ได้มีการออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของท่านเจ้าของบ้านและบรรดานักจัดสวนให้สามารถเลือกซื้อเลือกหากันได้อย่างหลากหลาย เช่น กระถางเคลือบ เครื่องจักรสานสำหรับวางกระถาง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เป็นต้น ซึ่งราคาแต่ละชิ้นงานก็แตกต่างกันไปตามความปราณีตและความสวยงามครับ
การจัดสวนในบ้าน ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นการเลือกพรรณไม้ที่มีขนาดใหญ่เสมอไป พรรณไม้ดอกไม้ประดับกระถางใบเล็ก ๆ ที่มีรูปทรงเก๋ ๆ วางตั้งอยู่บนโต๊ะทำงานหรือ ห้องรับแขกตามมุมเล็ก ๆ ในห้อง ก็คือ ธรรมชาติที่เราสร้างขึ้นเพื่อสร้างเสริมบรรยากาศที่ดีในบ้านเช่นกัน สัปดาห์หน้าแฟน ๆคนรักบ้านมาศึกษาวิธีการดูแลรักษาสวนในบ้านกันต่อครับ

สถานที่ท่องเที่ยว จ. มหามารคาม



สถานที่ท่องเที่ยว
:: กู่สันตรัตน์ ::
เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ.1700 - 1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ

:: บึงบอน ::
ตั้งอยู่ที่ ตำบลหัวขวาง ซึ่งอยู่ถัดจากวนอุทยานโกสัมพีไปประมาณ 100 เมตร บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จาก ททท. โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกันกับวนอุทยานโกสัมพี

:: แก่งเลิงจาน ::
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภายในบริเวณเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน อยู่ด้านหลังของสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบของแก่งเลิงจานมีทิวทัศน์สวยงาม ในวันหยุดประชาชนนิยมไปพักผ่อนกันมาก

:: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน ::
ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ภาพแสดงความเป็นมาของศิลปะอีสานตลอดจนศิลปหัตถกรรม เช่น การทอผ้า ลายผ้าต่างๆ นอกจากนั้นก็มีวรรณคดีอีสานประเภทใบลานซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนั้นยังมี ภาพสไลด์ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสานให้ชมด้วย

:: หมู่บ้านปั้นหม้อ ::
ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา ห่างตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 (มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด) ประมาณ 4 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้เป็นหม้อน้ำ หม้อแกง กรรมวิธีทำยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม

:: บ้านแพง ตำบลแพง ::
เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 208 (มหาสารคาม - โกสุมพิสัย) เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางโกสุมพิสัย - ขอนแก่น ระหว่างกิโลเมตรที่ 20 - 21 ห่างจากอำเภอโกสุมพิสัย 9 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองประมาณ 38 กิโลเมตร

:: หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง ::
หมู่ที่ 7 ตำบลท่าสองคอน เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมซื้อสินค้าที่ระลึกแห่งนี้ได้ การเดินทางจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสายมหาสารคาม - โกสุมพิสัย ประมาณ12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายระหว่างกิโลเมตรที่ 47 - 48 ไปตามทางลาดยางหมายเลข 1027 สู่บ้านโนนตาล เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้านหนองเขื่อนช้าง

ความรู้พื้นฐานการพัฒนาชุมชน

ความรู้พื้นฐานการพัฒนาชุมชน
ความรู้พื้นฐานการพัฒนาชุมชน
1. ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน
1.1 ปรัชญาพัฒนาชุมชน
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ ได้กล่าวถึงหลักปรัชญามูลฐานของงานพัฒนาชุมชน ไว้ดังนี้
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสำคัญ และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันจึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม และอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนอันหนึ่ง
2. บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการ
3. บุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฎิบัติและพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้
4. มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม ความเป็นผู้นำ และความคิดใหม่ ๆซึ่งซ่อนเร้นอยู่ และพลังความสามารถเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนำออกมาใช้ได้ ถ้าพลังที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ได้รับการพัฒนา
5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของชุมชนในทุกด้านเป็นสิ่งที่พึ่งปรารถนา และมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคล ชุมชน และรัฐฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าปรัชญาของการพัฒนาชุมชนนั้น
· ประการแรก ตั้งอยู่บนรากฐานอันมั่นคงแห่งความศรัทธาในตัวคน ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความหมายและสำคัญที่สุด มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ
· ประการที่สอง การพัฒนาชุมชน ก็คือ ความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคม(Social Justice) การมุ่งขจัดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่เห็นได้ชัดในหมู่มวลชนนั้น เป็นเรื่องที่อารยะสังคมพึงยึดมั่น
· ประการสุดท้าย ความไม่รู้ ความดื้อดึง และการใช้กำลังบังคับเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนา และความเจริญรุดหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิธีการให้การศึกษาเท่านั้น การให้การศึกษาและให้โอกาสจะช่วยดึงพลังซ่อนเร้นในตัวคนออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และการพัฒนาจะมีประสิทธิภาพได้ก็จะต้องยึดหลักการรวมกลุ่ม และการทำงานกับกลุ่ม เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และทำงานรวมกันเป็นกลุ่มจะช่วยให้คนได้เจริญเติบโตโดยเร็วที่สุด


ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ได้กล่าวถึงปรัชญาของการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย
1. การพัฒนาชุมชนนั้นให้ความศรัทธา เชื่อมั่นในตัวบุคคลว่าเป็นทรัพยากร(Human Resources) ที่มีความสำคัญที่สุดในความสำเร็จของการดำเนินงานทั้งปวง และเชื่ออย่างแน่วแน่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้ตามขีดความสามารถทางกายภาพของตน หากโอกาสอำนวยและมีผู้คอยชี้แนะที่ถูกทาง
2. การพัฒนาชุมชนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนปรารถนา ต้องการความยุติธรรมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม (Social Justice) ต้องการอยู่ในสังคมด้วยความสุขกาย สบายใจ (SocialSatisfaction) และต้องการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย (Social Acceptability) ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ (2534 : 6) ได้กล่าวถึงปรัชญาการพัฒนาชุมชน ไว้ว่า
การพัฒนาชุมชนมีหลักปรัชญาอันเป็นมูลฐานสำคัญ ดังนี้
1. มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม และความเป็นผู้นำซ่อนเร้นอยู่ในตัวพลังเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนำออกมาใช้ได้ ถ้าได้รับการพัฒนา
2. บุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้
3. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสำคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันจึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนผู้หนึ่ง
4. บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการ
5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของคนในชุมชนทุกด้าน เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนและชุมชนโดยส่วนรวม

กรมการพัฒนาชุมชน (2538) ได้กล่าวสรุป ปรัชญางานพัฒนาชุมชน มีความเชื่อว่า
1. มนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีในความเป็นคน
2. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ หรือมีศักยภาพ
3. ความสามารถของมนุษย์สามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส


1.2 แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชน
การศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนากรสามารถทำงานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง และทำให้งานมีประสิทธิภาพ แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนในระดับการปฏิบัติ มีดังนี้
1. การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วมบำรุงรักษา
2. การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self – Help) เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
3. ความคิดริเริ่มของประชาชน (Initiative) ในการทำงานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ประชาชนเกิดความคิด และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตำบล
4. ความต้องการของชุมชน (Felt – Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป
5. การศึกษาภาคชีวิต (Life – Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษาต้องใหการศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน

1.3 หลักการดำเนินงานพัฒนาชุมชน
จากปรัชญา และแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนได้นำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้
1. ยึดหลักความมีศักดิ์ศรี และศักยภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นว่าประชาชนนั้นมีศักยภาพที่จะใช้ความรู้ ความสามารถที่จะปรับปรุง พัฒนาตนเองได้ จึงต้องให้โอกาสประชาชนในการคิด วางแผนเพื่อแก้ปัญหาชุมชนด้วยตัวของเขาเองนักพัฒนาควรเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ ส่งเสริม
2. ยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน นักพัฒนาต้องยึดมั่นเป็นหลักการสำคัญว่าต้องสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ โดยการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนส่วนรัฐบาลจะช่วยเหลือ สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง และช่วยเหลือในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน
3. ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผลในกิจกรรม หรือโครงการใด ๆ ที่จะทำในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการดำเนินงาน อันเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความเป็นเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรม
4. ยึดหลักประชาธิปไตย ในการทำงานพัฒนาชุมชนจะต้องเริ่มด้วยการพูดคุย ประชุม ปรึกษาหารือร่วมกัน คิดร่วมกัน ตัดสินใจ และทำร่วมกัน รวมถึงรับผิดชอบร่วมกันภายใต้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดหลักการดำเนินงานพัฒนาชุมชนไว้ 10 ประการ คือ
Ø ต้องสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
Ø ต้องเป็นโครงการเอนกประสงค์ที่ช่วยแก้ปัญหาได้หลายด้าน
Ø ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปพร้อม ๆ กับการดำเนินงาน
Ø ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
Ø ต้องแสวงหาและพัฒนาให้เกิดผู้นำในท้องถิ่น
Ø ต้องยอมรับให้โอกาสสตรี และเยาวชนมีส่วนร่วมในโครงการ
Ø รัฐต้องเตรียมจัดบริการให้การสนับสนุน
Ø ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทุกระดับ
Ø สนับสนุนให้องค์กรเอกชน อาสาสมัครต่าง ๆ เข้ามีส่วนร่วม
Ø ต้องมีการวางแผนให้เกิดความเจริญแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความเจริญในระดับชาติด้วย

1.4 กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน การปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการดังนี้
1. การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แท้จริง วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกันทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกต การสำรวจ และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด กลวิธีที่สำคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหากปราศจากสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพัฒนากรกับชาวบ้าน แล้วเป็นการยากที่จะได้รู้ และเข้าใจปัญหาความต้องการจริง ๆ ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดี จนถึงขั้นความสนิทสนม รักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน
2. การให้การศึกษาแก่ชุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชนเป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชน มาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและสภาพที่เป็นจริง ผลกระทบ ความรุนแรง และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ การกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้ เข้าใจ และตระหนักในปัญหาของชุมชน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาร่วมกันของชุมชน
3. การวางแผน / โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และกำหนดโครงการ เป็นการนำเอาปัญหาที่ประชาชนตระหนัก และยอมรับว่าเป็นปัญหาของชุมชนมาร่วมกันหาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจที่จะแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถของประชาชน และการแสวงหาความช่วยเหลือจากาภายนอกกลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา วิธีการวางแผน การเขียนโครงการ โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม
4. การดำเนินงานตามแผนและโครงการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนและโครงการที่ได้ตกลงกันไว้ กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนใน 2 ลักษณะ คือ
4.0 เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น แนะนำการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
4.2 เป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

5. การติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่กำลังดำเนินการตามโครงการ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่พบได้อย่างทันท่วงที กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การติดตามดูแลการทำงานที่ประชาชนทำ เพื่อทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค แล้วนำผลการปฏิบัติงานตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบสามารถกระทำได้โดย
5.1 แนะนำให้ผู้นำท้องถิ่นหรือชาวบ้าน ติดตามผลและรายงานผลด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจา รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
5.2 พัฒนากรเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้อง เสนอผลการปฏิบัติงานต่อที่ประชุม ทำบันทึกรายงานตามแบบฟอร์มต่าง ๆ ของทางราชการ


2. การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม2.1 กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วม นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลในกิจกรรม/โครงการของชุมชน เป็นการสร้าง/ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของกิจกรรม/โครงการ นั้น แนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วมปัจจุบัน
แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา (People Paticipation for Development) ได้รับการยอมรับและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในงานพัฒนาทุกภาคส่วนหรือใน ลักษณะเบญจภาคี ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และประชาชน รวมพลังกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ความหมายของการมีส่วนร่วม Cemer (อ้างถึงใน Priticia Lundy, 1999, หน้า 125) กล่าวว่า “การให้โอกาสให้ประชาชนเป็นฝ่ายตัดสิน กำหนดความต้องการของตนเองเป็นการเสริมพลังอำนาจให้ประชาชนระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับการพัฒนาเพียงฝ่ายเดียว”
สำหรับสายทิพย์ สุคติพันธ์ กล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงกลไก ในการพัฒนา จากการพัฒนาโดยรัฐ มาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมีบทบาทหลัก การมีส่วนร่วมของประชาชน จึงหมายถึงการคืนอำนาจ (Empowerment) ในการกำหนดการพัฒนาให้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการริเริ่มและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่การพัฒนา การแก้ไขปัญหา การกำหนดอนาคตของประชาชนเองการมีส่วนร่วมของ HO (1983 หน้า 32) ให้ความเห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีเนื้อหาประกอบด้วย 1. การเน้นคุณค่าการวางแผนระดับท้องถิ่น
2. การใช้เทคโนโลยี/ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น 3. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนให้สามารถดำเนินการพัฒนาด้วยตนเองได้ 4. การแก้ไขปัญหาของความต้องการพื้นฐานโดยสมาชิกชุมชน 5. การเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามแบบประเพณีดั้งเดิม 6. การใช้วัฒนธรรมและการสื่อสารที่สอดคล้องกับการพัฒนาโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความชำนาญของประชาชนร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสมและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย
กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนานั้น ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน โดยมีนักวิชาการจากภายนอกเป็นผู้ส่งเสริม/สนับสนุนทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
บัณฑร อ่อนดำ กล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ซึ่งเป็นการวัดเชิงคุณภาพออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา หน้า 200 – 206)
ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในขั้นการริเริ่มการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา/สาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดความต้องการของชุมชน และจัดลำดับความสำคัญของความต้องการของชุมชนขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนในการพัฒนาซึ่งเป็นขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการตลอดจนแนวทางการดำเนินงานและทรัพยากรที่จะใช้ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา เป็นส่วนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเทคโนโลยี ฯลฯ จากองค์กรภาคีพัฒนาขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนรับผลประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งเป็นทั้งการได้รับผลประโยชน์ทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจขั้นตอนที่ 5 การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผลการพัฒนา เป็นการประเมินว่า การที่ประชาชนเข้าร่วมพัฒนา ได้ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด การประเมินอาจประเมินแบบย่อย (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ หรืออาจประเมินผลรวม (Summative Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลสรุปรวมยอดลักษณะของการมีส่วนร่วม
Cohen and Uphoff (1977, หน้า 6) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาโดยทั่วไป ประชาชนอาจเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เข้าร่วมในการนำโครงการไปปฏิบัติ โดยเสียสละทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แรงงาน วัสดุ เงิน หรือร่วมมือในการจัดกิจกรรมเฉพาะด้าน เข้าร่วมในผลที่เกิดจากการพัฒนาและร่วมในการประเมินผลโครงการนอกจากลักษณะการมีส่วนร่วมดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลการศึกษาอีกบางส่วนที่กล่าวถึงลักษณะการมีส่วนร่วม โดยแบ่งตามบทบาทและหน้าที่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา (Lee J Cary, 1970 หน้า 147) ดังนี้ 1. เป็นสมาชิก (Membership) 2. เป็นผู้เข้าประชุม (Aterdance at meeting) 3. เป็นผู้บริจาคเงิน (Financial Contribution) 4. เป็นประธาน (Leader) 5. เป็นกรรมการ (Membership in Committees)
กล่าวโดยสรุปลักษณะการมีส่วนร่วมอาจแบ่งโดย1. การสนับสนุนทรัพยากร คือ การสนับสนุนเงิน วัสดุอุปกรณ์ แรงงาน การช่วยทำกิจกรรม ร่วมประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น2. อำนาจหน้าที่ของผู้เข้าร่วม คือ ความเป็นผู้นำ เป็นกรรมการเป็นสมาชิกปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (กระบวนการและเทคนิคการทำงานนักพัฒนา หน้า 10)การที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม นอกจากการปลูกฝังจิตสำนึกแล้วจะต้องมีการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางซึ่งควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยเกี่ยวกับกลไกของภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบายมาตรการ และการปฏิบัติที่เอื้ออำนวย รวมทั้งการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน จำเป็นที่จะต้องทำให้การพัฒนาเป็นระบบเปิดมีความเป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส รับฟังความคิดเห็นของ P และมีการตรวจสอบได้
ปัจจัยด้านประชาชน ที่มีสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วมมีสำนึกต่อความสามารถและภูมิปัญญาในการจัดการปัญหาซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ ซึ่งรวมถึงการสร้างพลังเชื่อมโยงในรูปกลุ่มองค์กร เครือข่ายและประชาสังคม
ปัจจัยด้านนักพัฒนาและองค์กรพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้น สร้างจิตสำนึก เอื้ออำนวยกระบวนการพัฒนาสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรและร่วมเรียนรู้กับสมาชิกชุมชน
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน 1. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) แก่ประชาชน 2. การสร้างองค์กรและพลังเครือข่าย 3. การวางแผนระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ 4. การกระจายอำนาจ 5. การใช้หลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง การพึ่งตนเองแทนการพี่งพา 6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ที่เหมาะสมให้กับประชาชน การพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน การตลาด ประสบการณ์ 7. การพัฒนาศักยภาพผู้นำและเครือข่าย ให้มีความรู้ ความสามารถ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนการจัดเวทีประชาคมปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการศึกษาของ

ฉลาดชาย รมิตานนท์พบว่าอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของกลุ่ม 3 ด้าน คือ 1. อุปสรรคด้านการเมือง เกิดจากการไม่ได้กระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ประชาชน โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การปกครอง การบริหาร เศรษฐกิจ ตกอยู่ในกำมือของทหาร นายทุน และข้าราชการ 2. อุปสรรคด้านเศรษฐกิจ เกิดจากการขาดความสามารถในการพี่งตนเอง อำนาจการต่อรองมีน้อย กระบวนการผลิต ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ 3. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม ขนบประเพณีในแต่ละพื้นที่ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เนื่องจากขัดต่อขนบธรรมเนียงประเพณีของชุมชน/เผ่า ฯลฯนอกจากนี้ ปรัชญา เวสารัชช์ (2526 หน้า 22 – 23) กล่าวว่าปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างทางสังคม เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ 1. ความแตกต่างในสังคม ด้านรายได้ อำนาจ และฐานะทางเศรษฐกิจ 2. ระบบการเมืองถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย 3. ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแจกแจงทรัพยากรจากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน สรุปได้ดังนี้ 1. ปัญหาด้านนโยบายและองค์กรภาครัฐ มี 2 ระดับ คือ 1.1 ระดับนโยบาย โครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างทางสังคม พบว่า - นโยบายของรัฐไม่เอื้อต่อการพัฒนา - อำนาจการตัดสินใจรวมศูนย์ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน - โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การบริหารและระบบเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มนายทุน 1.2 ระดับปฏิบัติพบว่า - เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน - ขาดการประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง - ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ - ขาดการประสานงาน การติดตาม/ประเมินผลที่เป็นระบบ 2. ปัญหาเกี่ยวกับประชาชน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 กลุ่มผู้นำ พบว่า - ครอบงำความคิดประชาชน - แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน - ขาดความศรัทธาจากประชาชน 2.2 กลุ่มประชาชนทั่วไป พบว่า - ประชาชนมีภาระด้านการประกอบอาชีพด้านครอบครัว ด้านสุขภาพร่างกายประชาชนขาดทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน - เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดเห็น/ผลประโยชน์การแบ่งพรรคแบ่งพวก - การขาดความสามัคคี - การขาดการศึกษา ขาดความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ - ขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น - ไม่สนใจ ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม - ไม่ศรัทธาในตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ - ขาดการยอมรับในสิทธิและบทบาทสตรี 3. ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง 3.1 ด้านการเมือง - ขาดการกระจายอำนาจ - ระบบการเมืองถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย 3.2 ด้านเศรษฐกิจ - กระบวนการผลิต/ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม - กลไกของรัฐควบคุมระบบเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด - ขาดกลไกทีมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร 3.3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม - การแบ่งแยกเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ - ความไม่รู้อันเกิดจากการขาดการศึกษา - การครอบงำของผู้นำ และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน - ความยากจนตกอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์

การพัฒนา

การพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลง (Development is Change) และเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความ เจริญเติบโต มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ หรือการพัฒนาสังคมให้มีความ ร่มเย็น ผาสุก คนในสังคมมีความเอื้อาทรต่อกัน มีความรัก ความสามัคคี สมานฉันท์ มีจิตใจอันดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม ที่งดงาม ดังนั้น
นักพัฒนาสังคม จึงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) และถ้ามองภาพรวม เป้าหมายการพัฒนาประเทศ ทุก ๆ ประเทศ คือ ความผาสุข ความมั่นคงปลอดภัย ประชาชนมีคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อมที่ดี และสามารถ พึ่งตนเองได้ หากมองย้อนไปในอดีต การพัฒนาของประเทศไทยใช้แผน เป็นเครื่องมือในการพัฒนา นับตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 พ.ศ.2504 จนถึงปัจจุบัน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) รวม 9 ฉบับ ซึ่งในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 - 7
มีการมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้
แผนพัฒนาฉบับที่ 1 - 2 (พ.ศ. 2504 - 2514) เน้นความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุน พัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน ไฟฟ้า ประปา ฯลฯ)
แผนพัฒนาฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคม ลดอัตราการเพิ่มของประชากร และการกระจายรายได้ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ปัญหาวิกฤติการณ์น้ำมัน การว่างงาน การขาดดุลทางการค้า
แผนพัฒนาฉบับที่ 5 - 6 (พ.ศ. 2525 - 2534) มุ่งรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การรักษาความยากจน
แผนพัฒนาฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ปรับแนวคิดการพัฒนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งรักษา ระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เหมาะสม และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาจากการพัฒนาที่ผ่านมา การพัฒนาทั้ง 7 แผน ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี รายได้เฉลี่ยต่อคน ต่อปี เพิ่มจาก 2,100 บาท ในปี 2504 เป็น 77,000 บาท ในปี 2539 คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้น มีบริการปัจจัย โครงสร้างพื้นฐาน และบริการทางสังคมมากขึ้น แต่ความเจริญเติบโต
ดังกล่าวยังอยู่บนพื้นฐานความไม่สมดุลของการพัฒนา และกลับก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่าง ๆ ตามมา คือ ความเหลื่อมล้ำของรายได้ ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท คนจนเพิ่มมากขึ้น คนรวยมีเฉพาะกลุ่ม หรือ "รวยกระจุกจนกระจาย" นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย เกิดปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมา เช่น ครอบครัวแตกสลาย ขาดความอบอุ่น
ความเห็นแก่ตัว ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน คนขอทาน เด็กเร่ร่อน สตรี คนชรา คนพิการ คนด้อยโอกาส ผู้ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ รวมทั้งปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ถูกนำมาใช้อย่างขาดจิตสำนึก ฟุ่มเฟือย เกิดความสิ้นเปลือง สูญเสียลดน้อยถอยลง และเสื่อมโทรมลงทุกขณะ
ดังนั้น จึงสรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมา ได้ว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน"
การพัฒนาที่ยั่งยืน จากบทเรียนของการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิด มิติใหม่ของการพัฒนา โดยเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
(พ.ศ. 2540 - 2544) และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ที่มุ่งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุล โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งพัฒนาสู่สังคมที่เข้มแข็ง และมีดุลยภาพ คือ สังคมคุณภาพ สังคม แห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์เอื้ออาทรต่อกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนา "เศรษฐกิจดี สังคมมีการพึ่งพา การพัฒนายั่งยืน วิสัยทัศน์ร่วม"

"การพัฒนาประเทศไทย จะยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้การพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของความ สมดุลพอดีและความ พอประมาณอย่างมีเหตุผล นำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกัน และรู้เท่าทันโลก คนไทยส่วนใหญ่ มีการศึกษาและรู้จักเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นคนดี มีคุณธรรม และซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับ การสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและคุณค่าของ สังคมไทยที่มีความสมานฉันท์ และเอื้อาทรต่อกัน อันจะเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล มีคุณภาพ และยั่งยืน"

การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการ พื้นฐานของคน ทั้งยุคปัจจุบัน และยุคต่อ ๆ ไป และสร้างความสมดุลระหว่าง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม มนุษย์และสิ่งแวดล้อม และในแผน ปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) : การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นข้อตกลง ระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ณ นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ว่า ในศตวรรษที่ 21 จะไม่เน้นให้มีการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แต่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม มนุษย์และสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน

แนวทางที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. มิติทางเศรษฐกิจ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถพึ่งพาตนเองได้
2. มิติประชากร ชลอการขยายตัวของประชากร เพิ่มศักยภาพและคุณภาพของประชากร
3. มิติทางสังคม สร้างเงื่อนไขสังคมใหม่ ให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่พึงปรารถนา ก่อให้เกิดความเอื้ออาทร ความรัก ความสามัคี สมานฉันท์ต่อกัน ชุมชนสังคมมีความเข้มแข็ง
4. มิติทางสภาพแวดล้อม มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีและการพลังงาน ที่สะอาด ปลอดภัย ปลอดมลภาวะ มีสภาพแวดล้อมที่ดี
5. มิติทางการเมืองการปกครอง ปฏิรูปการเมือง การปกครอง การบริหาร ให้มีการกระจายอำนาจภารกิจหน้าที่ให้แก่ท้องถิ่น ให้สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหา และพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

การมีส่วนร่วมของชุมชน
ผมได้กล่าวไว้แต่ต้นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลง (ในทิศทางที่ดีขึ้น) และการพัฒนาใด ๆ จะเริ่มต้นที่คน และสิ้นสุด ที่คนเสมอ การพัฒนาคนจะเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนกระทั่งสิ้นชีวิต และมีคำพูดอยู่ประโยคหนึ่งว่า "หากขุดลึกลงไปถึงรากเหง้าของปัญหาใด ๆ ก็ตาม ท่านจะพบว่า คนอยู่ที่นั่นเสมอ" และธรรมชาติของคนย่อมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เป็นสังคม ฯลฯ จึงก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชน สังคม ให้มีความสงบสุข มั่นคง ปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเอง

การพัฒนาชุมชน ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีหลักการ วิธีการ และเป้าหมายดังนี้
หลักการ สร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน
วิธีการ กระตุ้นให้ชุมชนได้รวมกลุ่ม ร่วมกันคิด ปรึกษาหารือร่วมกัน ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผนดำเนินกิจกรรม ร่วมติดตามตรวจสอบ ภายใต้ผลประโยชน์ร่วมของทุกฝ่าย
เป้าหมาย ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความผาสุข ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตและ สภาพแวดล้อมที่ดี พึ่งพาตนเองได้ และเป็นชุมชนที่มีความยั่งยืน
ลักษณะชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน
1. สมาชิกของชุมชนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของตนเอง
2. สมาชิกของชุมชนพร้อมที่จะร่วมกันจัดการกับปัญหา ของตนและชุมชน
3. มีกระบวนการของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง จนเป็นวิถีของชุมชน ภายใต้การกระตุ้นและสนับสนุนของทุกฝ่าย ในลักษณะเปิดโอกาสให้กับสมาชิกทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วม โปร่งใส และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
4. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินสถานการณ์ของชุมชน ร่วมคิด ตัดสินใจดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผล การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาของชุมชน
5. สมาชิกชุมชนเกิดการเรียนรู้ผ่านเวทีประชาคม และเข้าร่วม ในกระบวนการของชุมชน
6. มีแผนของชุมชนที่ประกอบด้วยการพัฒนาทุก ๆ ด้านของ ชุมชน ที่มุ่งการพึ่งตนเอง เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุก ๆ คน และมุ่งหวังการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
7. การพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอกเป็นการพึ่ง เพื่อให้ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด ไม่ใช่การพึ่งพาตลอดไป
8. มีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา อาจเป็นหมู่บ้าน ชุมชนอื่น ๆ ท้องถิ่น ภาคราชการ องค์กรเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ และอื่น ๆ

บทสรุป
การพัฒนาประเทศ จึงควรให้ความสำคัญ และเริ่มที่การพัฒนาฐานราก คือ คน ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น โดยกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึก ตระหนักในภารกิจ หน้าที่ของทุก ๆ คน ทุก ๆ ฝ่าย ที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นของตน และเมื่อชุมชน มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศมีความมั่นคง ยั่งยืนได้ในที่สุด

ประเทศไทยในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่

ประเทศไทยในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ แม้ว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งเคลื่อนจากการเป็นยุคเกษตรกรรมไปสู่ยุคอุตสาหกรรมและขณะนี้กำลังก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจแห่งปัญญาและการเรียนรู้ ดังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย ประเทศไทยยังคงมีสภาพเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศในลักษณะผสมผสานของการเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งเกิดจากความอุดมสมบูรณ์และความชำนาญของคนไทย ทางเกษตรกรรมมาตั้งแต่ดั้งเดิม และการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งสินค้าและบริการที่ผลิตได้ สร้างรายรับสูงกว่าผลผลิตจากภาคการเกษตร รวมทั้งมีการมุ่งนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาส่วนต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาประเทศไทยจึงต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาทุกส่วนเศรษฐกิจของประเทศ กล่าว คือ ทั้งภาคการเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการ ทั้งนี้ประเทศไทยไม่สามารถที่จะมุ่งพัฒนาเพียงภาคใดภาคหนึ่งและทอดทิ้งภาคอื่นๆ ได้ เนื่องจากลักษณะพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยนั้นเป็นแบบผสมผสาน และมีจำนวนประชากรประกอบอาชีพในแต่ละภาพเป็นจำนวนมาก อังนั้น ในการพัฒนาประเทศจังมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาทั้งสามภาคดังกล่าว ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค
ประเทศไทยในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่
โลกาภิวัฒน์นี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจโลกอันเนื่องมาจากระบบการค้าของโลก ตลอดจนผลกระทบจากการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั้งโลกเพื่อนำมาปรับใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อให้สอดคล้องและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกนั้นๆ โดยทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความสมดุลและการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของประเทศ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวนี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้จากแนวความคิด นโยบาย แผน กลยุทธ์ และวิธีปฏิบัติของประเทศอื่นๆ มาเพื่อปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาสภาพเศรษฐกิจใหม่ของประเทศที่พัฒนาแล้วนี้ จะพบได้ว่า ไม่มีคำตอบแบบสูตรสำเร็จสำหรับวิถีทางการพัฒนารูปแบบนี้ แต่ขึ้นอยู่กับการตีความและการให้ความสำคัญในจุดเน้นที่ต่างกันออกไป ตลอดจนการนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับใช้กับสภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยภายในประเทศตน ดังนั้น ข้อนิยายของเศรษฐกิจใหม่ในกรณีของประเทศไทย จึงน่าจะหมายถึง การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดรับกับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ของโลก ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ประเทศไทยสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ ตลอดจนสามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าระดับภูมิภาคและระดับโลก และการนิยามศัพท์จึงอาจจะใช้คำว่า "เศรษฐกิจในยุคสารสนเทศ" เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยที่อยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นาย อรรครินทร์ อรรคบุตร เรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองเเละนฤมิตศิลป์ เรียนเอกผังเมือง ปี 3 หรัส 49011110436 85/13 ต.มะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม44150 เกิดวันอาทิตย์ ที่ 28 เดือนมิถุนายน 2530 ชื่อเล่น ต่อ MAIL: augkabood@hotmail.com พี่น้องไม่มี ลูกชายคนเดียว งานอดิเลก ชอบตกปลา กีฬาที่ชอบ แตะตระกร้อ หนังที่ชอบ นักฆ่าหน้าบุญ หนังสือที่ชอบ AUTO CAT ความฝัน นักออกเเบบผังเมือง สีที่ชอบ สีเเดง วันที่ใช่ วันอาทิตย์ สถานะ โสด คำคม เงินงาน การศึกษา ควรหาก่อน นิยามความรัก จะรักใคร ถามใจตัวเองก่อนว่า Do you belive in love? ต้นไม้อยู่ไม่ได้ ถ้าขาดน้ำ นกอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดฟ้า มดอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดน้ำตาล ฉันอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดเธอ รักคือ...ความซื่อสัตย์ ถ้าไม่มีความซื่อสัตย์ก้อคงไปด้วยกันไม่ได้ รักคือ...ความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจกันก็จะทำให้ทะเลาะกัน รักคือ...อิสระ ถ้าเราไม่หั้ยอิสระกับคนที่เรารัก คนที่เรารักเขาก็จะไม่รักเรา รักคือ...บุพเพสันนิวาต พอหลายคนชอบคิดแบบนั้น รักคือ...การเสียสละ ถ้าเราเสียสละแล้วทำให้เขามีความสุขก็ต้องเสียสละ รักคือ...การให้ ให้ในสิ่งที่เราคิดว่ามีเขาความสุข รักแท้ คือพ่อแม่ รักไม่แน่ คือผู้ชาย รักไม่ได้ คือกระเทย

งานกลุ่ม

งานกลุ่ม
คนละชิ้น
Powered By Blogger

ผู้ติดตาม